ยะลา
“ยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 และได้แตกออกมาเป็นจังหวัดยะลา โดยจยะลาเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของไทย ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 82.54 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 17.03 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.43 มีมัสยิดทั้งหมด 453 แห่ง, มีวัดในพุทธศาสนา 45 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 5 แห่ง และคุรุดวาราศาสนาซิกข์ 1 แห่ง
ชาวยะลามีรากฐานอารยาธรรมที่ยาวนานโดย โดยมีประเพณีที่สำคัญต่างๆได้แก่ การแข่งขันนกเขาชวาอาเซียน งานสมโภชหลักเมืองยะลา เทศกาลตักบาตรเทโวโรหณะ ส่วนในเรื่องของเชื้อชาตินั้น ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของยะลาเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ